หนังสือเสียง เป็นยังไง

หนังสือเสียง

บทความนี้ขอมาแชร์ความรู้ แชร์เรื่องราวต่างๆ ให้ทุกท่านได้ลองอ่านอีกเช่นเคย โดยครั้งนี้จะเป็นในเรื่องของ “หนังสือเสียง” ที่ผ่านมาหลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่าหนังสือเสียงผ่านหูมาบ้างแล้ว แต่ก็อาจจะแค่ได้ยินเฉยๆ เท่านั้น ไม่ได้ทราบว่ามันคืออะไร ซึ่งต้องบอกเลยว่าหนังสือประเภทนี้ มีความสำคัญกับผู้พิการทางสายตาอย่างมาก เนื่องจากถูกผลิตมาเพื่อพวกเขาโดยเฉพาะ เพื่อให้คนที่มองไม่เห็น อ่านไม่ได้ ได้มีโอกาสรับรู้เรื่องราว ข่าวสารต่างๆ เพิ่มขึ้น เชื่อว่าหากทุกท่านได้ลองอ่านบทความนี้จนจบ จะต้องพบกับความสวยงามที่แอบซ่อนอยู่อย่างแน่นอน เอาละตอนนี้ก็คงถึงเวลาที่เราจะไปทำความรู้จักกับหนังสือประเภทนี้กันแล้ว ส่วนหนังสือเสียงคืออะไร และเป็นยังไงบ้างนั้นอย่ารอช้าถ้าพร้อมแล้วตามไปรับชมกันเลย

หนังสือเสียง (Audiobook) คือ การนำข้อมูลที่ถูกบันทึกลงบนหนังสือ หรือสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาอ่าน และบันทึกเสียงในรูปแบบต่างๆ จนเกิดเป็นสื่ออีกประเภทหนึ่ง เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาผู้ที่บกพร่องด้านการอ่านรวมไปถึงบุคคลที่ต้องการรับรู้ข้อมูลเนื้อหาของหนังสือผ่านทางการฟัง ได้มีโอกาสรับรู้ข่าวสารจากสื่อต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ผ่านการฟังจากหนังสือเสียงโดยไม่ต้องอ่าน

Audiobook

พัฒนาการของหนังสือเสียง

สำหรับหนังสือเสียง (Audiobook) ไม่ได้เพิ่งถูกผลิตขึ้นมาหรือเพิ่งมีแต่อย่างใด เพราะว่าความจริงแล้วหนังสือเสียงนั้น เริ่มถูกผลิตมาตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ.2520 โดยใช้การบันทึกเสียงในรูปแบบเทปคาสเซ็ท จากนั้นมีการพัฒนาไปในรูปแบบที่ทันสมัยขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งเปลี่ยนจากคาสเซ็ทไปเป็นบันทึกลงซีดี ตามด้วย MP3 ส่วนในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากขึ้น ทำให้อะไรหลายๆ อย่างดูเอื้ออำนวยไปหมด ส่งผลให้การบันทึกเสียงปรับเปลี่ยนมาเป็นแบบดิจิตอล รวมถึงการรับฟังด้วย ผู้ฟังจึงจะได้ฟังหนังสือเสียงที่ชัดเจน มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ทุกวันนี้ หนังสือเสียง (Audiobook) ถูกพัฒนาไปไกลมากนอกเหนือจากการบันทึกแบบดิจิตอลแล้ว ยังสามารถทำการปรับความเร็วเพิ่มขึ้นได้สูงสุดถึง 3 เท่าเลยทีเดียว ปกติแล้วการฟังข้อมูลจากหนังสือเสียงจะช้ากว่าการอ่านหนังสือปกติอยู่ที่ประมาณ 150 คำ เพราะฉะนั้นการปรับความเร็วได้ ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังสามารถรับรู้ข้อมูลได้เท่ากับการอ่านหนังสือแบบปกติ หรือเร็วกว่านั้นก็ได้

อ่านหนังสือเสียง

ใครก็สามารถอ่านหนังสือเสียงให้ผู้พิการทางสายตาได้

แม้หนังสือเสียงจะสำคัญต่อผู้พิการทางสายตามากเพียงใด แต่เมื่อลองหันไปดูจากสถิติแล้ว พบว่าในปัจจุบันมีผู้พิการทางสายตาอยู่มากถึงประมาณ 7 แสนคน และหากนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนของหนังสือเสียงที่มีทั้งหมดแล้ว ก็ถือว่ายังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการจริงๆ ทุกวันนี้จึงมีจิตอาสาจำนวนมากที่หันมาอ่านพร้อมทำการบันทึกเสียงข้อมูลจากสื่อต่างๆ ไว้ให้ผู้พิการทางสายตาได้รับฟัง สำหรับการอ่านและบันทึกเสียงไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ ยิ่งถ้าเราเป็นคนที่รักในการอ่านอยู่แล้ว จากที่จะเก็บความรู้ไว้คนเดียวการได้แบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่นด้วยคงเป็นอะไรที่อิ่มเอมใจไม่น้อยเลย ซึ่งการบันทึกเสียงเราสามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางแอปพลิเคชั่น Read for the Blind

กล่าวมาจนถึงตรงนี้เชื่อว่าทุกท่านที่กำลังอ่านบทความบทนี้กันอยู่คงจะมีความเข้าใจในคำว่า “หนังสือเสียง” กันไปพอสมควรแล้วไม่มากก็น้อย ก็คงต้องยอมรับว่าหนังสือเสียงคือสิ่งที่ช่วยสร้างความสุขให้แก่ผู้พิการทางสายตาได้อย่างมากมายมหาศาล ซึ่งการมีหนังสือเสียงจะทำให้พวกเขาไม่ต้องรู้สึกว่าตัวเองเป็นบุคคลที่ผิดปกติ แถมยังช่วยให้พวกเขารับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในชีวิตประจำวันด้วย สุดท้ายนี้ใครที่มีความต้องการอยากแบ่งปันความสุขให้กับผู้พิการทางสายตา ก็สามารถลองเข้าไปบันทึกเสียงลงหนังสือเสียงกันได้เลยทุกเวลา